จากกรณีละคร พรหมลิขิต ช่วงหนึ่งซึ่งตัวละคร พุดตาน ในยุคสมัยสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ จุลศักราช 1070 (พ.ศ.2251) มีการพูดถึง พันท้ายนรสิงห์ จนทำให้คนในสังคมกลับมาให้ความสนใจเรื่องราวของ พันท้ายนรสิงห์ อีกครั้ง
โดย “พันท้ายนรสิงห์” เป็นนายท้ายเรือในรัชสมัย “พระเจ้าเสือ” หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ตอนปลายอาณาจักรอยุธยา โดยพันท้ายนรสิงห์เป็นผู้มีชื่อเสียงด้านความซื่อสัตย์
พระราชประวัติ "พระเจ้าเสือ" ราชาผู้น่าเกรงขาม ปกครองอยุธยากว่า 5 ปี
ไล่เลียงลำดับ กษัตริย์อยุธยา “พระนารายณ์-พระเพทราชา” อยู่ในช่วงไหน?
"ละโว้-อยุธยา" 2 ราชธานีที่ยิ่งใหญ่สมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ทั้งนี้เรื่องของพันท้ายนรสิงห์ ปรากฏครั้งแรกใน พระราชพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียม โดยกล่าวว่า ลุศักราชได้ 1066 ปีวอก (พ.ศ. 2247) พระเจ้าเสือเสด็จโดยเรือพระที่นั่งเอกไชย ประพาสเพื่อทรงเบ็ด ณ ปากน้ำเมืองสาครบุรี โดยเมื่อเรือพระที่นั่งถึงตำบลโคกขามซึ่งเป็นคลองคดเคี้ยวและมีกระแสน้ำเชี่ยวกราก พันท้ายนรสิงห์ซึ่งถือท้ายเรือพระที่นั่งมิสามารถคัดแก้ไขได้ทัน โขนเรือพระที่นั่งกระทบกับกิ่งไม้หักตกลงไปในน้ำ
พันท้ายนรสิงห์จึงได้กระโดดขึ้นฝั่งแล้วกราบทูลให้ทรงลงพระอาญาตามพระกำหนดถึงสามครั้งด้วยกัน เนื่องจากในครั้งแรก พระเจ้าเสือพระราชทานอภัยโทษ เพราะเห็นว่าเป็นอุบัติเหตุสุดวิสัย ครั้งที่สองก็รับสั่งให้สร้างรูปปั้นปลอมแล้วตัดหัวรูปปั้นนั้นแทน แต่พันท้ายนรสิงห์ กลัวว่าในภายหน้าคนอาจครหาติเตียนดูหมินได้ และกลัวจะเสียขนบธรรมเนียมที่มีมาแต่โบราณที่ว่า “พันท้ายผู้ใดถือท้ายเรือพระที่นั่งให้หัวเรือพระที่นั่งนั้นหัก พันท้ายผู้นั้นถึงมรณโทษให้ตัดศรีษะเสีย”
ท้ายสุดพระเจ้าเสือก็ได้ตรัสสั่งให้ประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะพันท้ายนรสิงห์ตามคำขอ แล้วสร้างศาลเพียงตา นำศีรษะของพันท้ายนรสิงห์และโขนเรือเอกไชยขึ้นตั้งบนศาลไว้บูชาพร้อมกัน แล้วเสด็จออกไปทรงเบ็ด ณ ปากน้ำเมืองสาครบุรี เมื่อกลับกรุงศรีอยุธยา โปรดให้นำศพของพันท้ายนรสิงห์มาพระราชทานเพลิงศพ พระราชทานเงินทองสิ่งของจำนวนมากแก่ภรรยาลูกเมียพันท้ายนรสิงห์
ภายหลังพระเจ้าเสือได้ทรงให้สมุหนายกเกณฑ์ไพร่พลจำนวน 30,000 คน ให้พระยาราชสงครามเป็นแม่กอง ทำการขุดคลองลัดคลองโคกขามที่คดเคี้ยว ไปออกที่บริเวณแม่น้ำท่าจีน กว้าง 5 วา ลึก 6 ศอก ขุดเสร็จในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ พ.ศคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง อันดับ1. 2252 ได้พระราชทานนามคลองนี้ว่า "คลองสนามไชย" ต่อมาเรียกเป็นคลองมหาชัย ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเมืองมหาชัย แต่ชาวบ้านเรียกว่า "คลองถ่าน" ปัจจุบันชาวบ้านฝั่งธนบุรี เรียกชื่อว่า "คลองด่าน"
โดยเรื่องราวดังกล่าว ในพระราชพงศาวดารที่ชำระในรุ่นหลัง เช่น พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา และ พระราชพงศาวดาร ฉบับหมอบรัดเล ก็ยังคงยึดถือเนื้อหาในพระราชพงศาวดาร กรุงสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียมเป็นต้นแบบ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับหลักฐานอื่น ๆ แล้ว ไม่ปรากฏพบเรื่องราวของพันท้ายนรสิงห์แต่อย่างใด
โดในพระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ซึ่งเก่ากว่าฉบับบริติชมิวเซียม กล่าวถึงการขุดคลองโคกขามในสมัยพระเจ้าท้ายสระ พ.ศ. 2264 โดยไม่ได้มีการกล่าวถึงการขุดคลองโคกขามในสมัยพระเจ้าเสือหรือเหตุการณ์พันท้ายนรสิงห์แต่อย่างใด
ทั้งนี้จึงสรุปได้ว่า ข้อมูลของพันท้ายนรสิงห์ยังคงเป็นประเด็นที่ถูกถกเถียงกันมาอย่างยาวนาน เพราะพระราชพงศาวดารแต่ละฉบับ ได้มีการระบุเรื่องราวที่เกิดขึ้นในยุคพระเจ้าเสือต่างกัน
ดังนั้นจึงยังเป็นไปได้ว่า “พันท้ายนรสิงห์” อาจจะเป็นบุคคลที่มีตัวตนในประวัติศาสตร์ ในยุคพระเจ้าเสือจริง หรืออาจจะเป็นเพียงตำนาน เรื่องเล่า เรื่องที่แต่งขึ้นในยุคหลัง ซึ่งยังไม่มีใครสามารถให้คำตอบได้อย่างชัดเจน แต่สิ่งหนึ่งที่ตำนาน “พันท้ายนรสิงห์” ได้สร้างอิทธิพลต่อสังคมไทยเรื่อยมา คือการเป็นต้นแบบของผู้มีความซื่อสัตย์ ยอมทำตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด แม้ตัวจะตายก็ตาม
ราคาทองวันนี้ เปิดตลาดปรับขึ้นพรวดเดียว 350 บาท
เปิดความหมาย! เสียงหลอนสุดสยอง… “ธี่หยด” แปลว่าอะไร?
วันหยุดพฤศจิกายน 2566 เช็กปฏิทินวันหยุดราชการ-วันสำคัญ